OpenStack ปะทะ VMware

ต้องบอกว่าตอนนี้การแข่งขันทางด้านเทคโนโลยี ถือว่ากำลังมาแรง ยิ่งถ้าพูดถึงเทคโนโยอย่าง Private Cloud ในตอนนี้ ทั้ง OpenStack และ VMware ต่างก็ถือว่าเป็นคู่แข่งกันในด้านการเป็นตัวเลือกยอดนิยมมาโดยตลอด แต่การเข้ามาของเทคโนโลยีใหม่ทั้ง IoT และ NFV อาจทำให้ OpenStack กลายมาเป็นฝ่ายได้เปรียบในสงครามครั้งนี้

แม้หลายๆ องค์กรใหญ่จะใช้งาน VMware มานาน แต่ฝ่ายบริษัทผู้ให้บริการทาง IT กลับจะดูชอบพอ OpenStack กันเสียมากกว่า ซึ่งผลสรุปของตลาดการแข่งขันที่จะกระเทือนทั้ง OpenStack และ VMware อาจขึ้นอยู่กับ IoT และ NFV ล้วนๆ

Virtual Resources ได้สร้างความยุ่งยากอีกระดับให้กับทีม Operation ของ Data center โดยทั่วไปแต่ละองค์กรจะ Install และ Integrate แต่ละ Application แบบ Manual หรือใช้งาน Simple operating system scripting languages เป็นหลัก แต่วิธีนี้ค่อนข้างเสี่ยงต่อการเกิด Configuration Error ในการ Deploy application ลง Resource pool ดังนั้นองค์กรสมัยนี้เลยหันมาใช้ DevOps Tools ให้ช่วย Deploy แต่ด้วยความที่ Tools เหล่านี้สามารถใช้งานได้ทั้งกับ OpenStack และ VMware จึงยังไม่ค่อยมีใครได้เปรียบเสียเปรียบนักในสงคราม Cloud นี้

NFV สะเทือนสนามรบ OpenStack และ VMware

เมื่อไม่นานมานี้ Network Operator หลายๆ เจ้าได้พัฒนา Specification ใหม่ที่ทำให้ Cloud hosting ที่สามารถรองรับ Network Feature ได้ โดยเรียกมันว่า NFV (Network Functions Virtualization) ซึ่ง NFV เป็นเหมือน Cloud application ที่ถูกแปลงมาเป็น Network Feature อย่างหนึ่ง โดยเกือบทั้งหมดของ NFV Implementations ต้องใช้ Cloud Deployment Tools มาเป็น Interface ของ Resources และด้วยความที่ OpenStack เองก็เป็น Open Source จึงสนับสนุนและทำงานร่วมกับ NFV ได้เป็นอย่างดี ผิดกับ VMware ที่ล่าช้าไปหน่อยกว่าจะพัฒนา Tools ที่เข้ากับ NFV ขึ้นมาได้

ในอีก 5 ปีข้างหน้า การ Hosting network feature อาจกลายมาเป็น Data Center Deployment แหล่งใหญ่ที่สุดได้ และถ้า OpenStack มีบทบาทใน NFV มากๆ เข้า จะทำให้ OpenStack ก้าวขึ้นเป็นผู้นำด้านการใช้งาน Cloud รูปแบบใหม่นี้ทันที ยิ่งเมื่อเหล่า Network Operator เริ่มใช้ NFV Data Center เพื่อให้บริการ Public Cloud ถึงตอนนั้น OpenStack-based private cloud ก็สามารถกลายมาเป็น Hybrid Cloud ได้ง่ายขึ้น เสริมความแข็งแกร่งของ OpenStack ในตลาด Cloud ไปอีกขั้น

NFV คือรูปแบบหนึ่งของ Cloud Computing ที่มีทั้งความน่าเชื่อถือและความรวดเร็ว ถูกออกแบบมาให้รองรับ Tenant Service ได้เป็นล้านๆ สามารถตั้งค่า Automate ในส่วนการ Deployment และ Management Process เพื่อคุมค่าใช้จ่ายได้ ซึ่งองค์กรทั้งหลายและผู้ให้บริการ Public Cloud ต่างก็สนใจในความสามารถพวกนี้ เพราะฉะนั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลกเลยถ้า Tools และ Features ของ NFV จะถูกใช้กันโดยทั่วไปตามองค์กรต่างๆ และยิ่งถ้า Tools เหล่านี้ถูกออกแบบมาให้เข้ากับ OpenStack ได้ดีกว่า VMware แล้วล่ะก็ ไม่ต้องสงสัยเลยว่าใครจะเป็นผู้นำแต้มต่อในวงการนี้ในอนาคต

ผลกระทบครั้งใหญ่ของ IoT ต่อ OpenStack  และ VMware

IoT หรือ Internet of Things เป็นอีกเทรนด์ที่ส่งจะผลกระทบต่อกลุ่ม Network Operator เป็นอันดับแรก ด้วยการสร้าง Platform และ Tools ใหม่ๆ ขึ้นมา โดย IoT มีองค์ประกอบอยู่ 2 ส่วน องค์ประกอบแรกคือส่วนที่เชื่อมต่อระหว่าง Sensor กับ Controller และส่วนที่คอยแปลงข้อมูลของ Sensor กับ Controller ให้เป็น Format สำหรับการเข้าถึง Application อย่างปลอดภัย อีกองค์ประกอบหนึ่งของ IoT นั้นจะคล้ายๆ กับโกดังเก็บ Big Data และพวก Application คุมระบบต่างๆ เช่น process control, vehicle/traffic control และ mobile contextual services based on location จะว่าไปก็เหมือนกับเป็น Cloud Applications หรือ NFV Functions รูปแบบหนึ่ง

ซึ่งทุกวันนี้เทคโนโลยี Cloud Computing ที่องค์กรส่วนใหญ่เลือกใช้มักจะเป็นพวกบริการ Public Cloud เพื่อเข้ามาเป็นส่วนขยายของ Data Center Virtualization และ Hosting โดย Application ที่สร้างไว้ใน Cloud ก็จะมีความคล้ายคลึงกับ Web และ Front-end technology ที่นำมาประยุกต์กับ Data Center Application แบบเก่า แต่ IoT นั้นต่างออกไป มันจะกลายเป็นทางเลือกใหม่ที่แจกจ่ายการทำงานของ Data และ Processing ได้พร้อมๆ กัน ทั้งยังสามารถ Redefining Workflow เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานได้อีกด้วย ดังนั้นแนวโน้มที่ IoT จะเข้าไปมีบทบาทร่วมใน Data Center และ Public Cloud ของแต่ละองค์กรจึงเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ

จากการที่ Network operator หลายแห่งเลือกใช้งาน Open source ซึ่งแน่นอนว่ามักจะหมายถึง OpenStack สำหรับ NFV ย่อมส่งผลให้ OpenStack กลายมาเป็นที่นิยมสำหรับ IoT Platform ด้วยเช่นกัน เนื่องจาก IoT Application มีลักษณะคล้ายคลึงกับ Network Function อย่างไรก็ดี ความนิยมของ OpenStack จะนำขึ้นมาเหนือ VMware ได้หรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับว่า NFV จะถูกพัฒนาและนำมาปรับใช้ได้เร็วแค่ไหนนั่นเอง

 

LIBERTY : The twelfth release of OpenStack 12

OpenStack Liberty เป็นเวอร์ชั่นที่ 12 ของ Open Source Software ทำมาเพื่อต่อยอด Public, Private, และ Hybrid Cloud เสริมด้วยฟังก์ชั่นใหม่ๆ พร้อมด้วยส่วนเสริมการทำงาน ที่ครอบคลุมเทคโนโลยี Data Center ทำให้ OpenStack มาเป็น Integration Engine ที่ได้รับการตอบรับที่ดีเยี่ยมสำหรับผู้ให้บริการ Cloud และกลุ่มองค์กรที่กำลังใช้งาน Cloud ซึ่ง Feature ใหม่ของ Liberty มีดังนี้

 

ระบบการจัดการประสิทธิภาพสูง – OpenStack 12 ถูกพัฒนาให้มีระบบตั้งค่าการจัดการที่ดีขึ้น และระบบ Library ร่วม (Common library adoption) และยังมีการเพิ่ม Role-Based Access Control (RBAC) เพื่อใช้งานร่วมกับ Heat orchestration และ Neutron networking และเปิดให้ปรับ Security Setting อย่างเต็มรูปแบบ

 

ระบบปรับแต่งเรียบง่าย – OpenStack เป็นที่นิยมในการใช้สร้างระบบ Cloud ทั้ง Public และ Private อย่างแพร่หลาย ซึ่ง Liberty ก็ได้พัฒนาประสิทธิภาพการแสดงผล และมีความเสถียรมากขึ้น ติดตั้ง Application Nova Cells v2 ในตัว สามารถรองรับการ Deployment ขนาดใหญ่ และการ Deployment พร้อมกันในหลายพื้นที่ (Multi-location compute deployment) เพิ่มศักยภาพการปรับแต่ง (Scalability) และการทำงานของ Horizon dashboard, Neutron networking,

 

และ Cinder block storage

 

รองรับเทคโนโลยีใหม่ๆ – OpenStack เป็น Open Source Platform เพียงหนึ่งเดียวที่รองรับการจัดการ 3 เทคโนโลยีหลักๆ ของระบบ Cloud ทั้ง Virtual Machine, Container และ Bare Metal Instance และเป็นที่นิยมในการใช้

งานร่วมกับระบบ NFV (network functions virtualization) ขององค์กร โดย OpenStack “Liberty” ได้เพิ่มศักยภาพการทำงานทั้งสองด้านด้วยฟีเจอร์ตัวใหม่อย่าง Nova compute scheduler, QoS Framework และระบบ LBaaS (Load

Balancing as a Service) ที่ดีขึ้น

ระบบจัดการ Container ตัวใหม่ – ในระหว่างการพัฒนา Liberty ระบบ Magnum Container ระบบจัดการ

Container ตัวใหม่รองรับการทำงานร่วมกับ Kubernetes, Mesos และ Docker Swarm ก็ได้เปิดตัวขึ้น เมื่อนำ Magnum มาใช้ร่วมกับบริการที่มีอยู่เดิมของ OpenStack อย่าง Nova, Ironic, และ Neutron ซึ่งช่วยจัดการ Container ได้ง่ายกว่าเดิม และโปรเจกต์ Kuryr ถูกวางแผนให้เข้ามาเสริมประสิทธิภาพ โดยทำงานกับส่วนของ Container networking อย่าง

libnetwork ได้โดยตรง

Orchestration – Heat Orchestration เพิ่มระบบจัดการทรัพยากรใหม่ๆ เข้าไปมากมาย รวมทั้งระบบอัตโนมัติ

และการรองรับความสามารถใหม่ๆ ของ Liberty เพิ่มความสามารถการจัดการและการ Scale ซึ่งรวมด้านการเข้าถึง API เพื่อเช็คว่ามี Resource หรือ Action ไหนพร้อมใช้งานได้บ้าง โดยมาพร้อมกับ RBAC ติดตั้งในตัว