Magento แอปฯ พัฒนาเว็บ E-Commerce บน Cloud Thai

Magento แอปฯ พัฒนาเว็บ E-Commerce บน Cloud Thai

Magento แอปฯ พัฒนาเว็บ E-Commerce บน Cloud Thai

Magento แอปฯ พัฒนาเว็บ E-Commerce บน Cloud Thai

เว็บไซต์ E-Commerce เป็นโปรแกรม ที่หลายๆ แบรนด์ธุรกิจเลือกใช้งานสำหรับสื่อสารและทำอุตสาหกรรม ซึ่งความสำคัญของเว็บไซต์ก็เปรียบเสมือนการสร้างร้านค้าที่มีความสวยงามและสะดวก แต่อยู่ในรูปแบบของสื่อออนไลน์ ซึ่งก็มีหลายโปรแกรมสำหรับการเริ่มต้นทำ เว็บไซต์ E-Commerce หนึ่งในแพลตฟอร์มที่มีความสะดวก คือ Magento

สำหรับการพัฒนาเว็บไซต์ E-Commerce มักจะมีปัจจัยแวดล้อมหลายๆ รูปแบบ ทำให้การพัฒนาและ Run ระบบส่วนใหญ่ นักพัฒนาจะใช้งาน Cloud Computing ซึ่ง Cloud Thai ในปัจจุบันก็มีประสิทธิภาพ ความเร็ว และมีเสถียรในการ Run ระบบอย่างต่อเนื่อง

Magento คืออะไร?

Magento เป็นชาแนลจัดการข้อมูลบนเว็บไซต์แบบ Content Management System (CMS) ในการพัฒนาเว็บไซต์ E-Commerce ที่มีฟีเจอร์การใช้งานที่ครบถ้วน โดยใช้ภาษา PHP ทำให้ผู้ใช้งานสามารถพัฒนาเว็บไซต์ได้ตั้งแต่ จัดหมวดหมู่สินค้า, อัปเดตจำนวนสินค้าในคลัง, ระบบชำระเงิน, การจัดส่ง, ระบบโปรโมชัน ซึ่งโปรแกรมไม่ใช่โปรแกรมสำหรับสร้างเว็บไซต์สำเร็จรูป ผู้ใช้งานต้องเขียน รหัส ขึ้นมา ทำให้มีความยืดหยุ่นในการสร้าง และไม่มีความตายตัวในการออกแบบ แต่ยังคงมีฟังก์ชันที่อำนวยความสะดวกให้การสร้างเว็บไซต์ที่ง่ายดายมากขึ้น

Magento ใช้งานอย่างไร?

สำหรับการใช้งาน Magento มีการใช้งาน 2 รูปแบบ คือ

1. โปรแกรมทำงานบนคอมพิวเตอร์

2. ใช้งานบน Cloud Computing

การใช้งานบนคอมพิวเตอร์นั้นก็เหมือนการใช้งานแอปพลิเคชันทั่วไปที่ผู้ใช้งานต้องติดตั้งโปรแกรม แต่ด้วยการทำงานบนคอมพิวเตอร์ที่มีข้อจำกัดเรื่องของ Hardware ตั้งแต่ขั้นตอนการพัฒนา ไปจนถึง การ Run ระบบเว็บไซต์ E-Commerce เนื่องจากข้อมูลจำนวนมหาศาลบนเว็บไซต์ รวมถึงความมั่นคงในการทำงาน ทำให้ส่วนใหญ่คนเลือกใช้งาน Magento บน Cloud Computing กันมากกว่า

Magento บน Cloud Thai ดีกว่าอย่างไร?

Magento เป็นแพลตฟอร์มสร้างเว็บไซต์ E-Commerce ที่มีความโดดเด่นแล้วได้รับความนิยม ซึ่งการทำให้เว็บไซต์มีประสิทธิภาพที่สูงที่สุด ต้องมีทรัพยากรบนโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure-as-a-Service) บน Cloud Computing ที่เหมาะสม ซึ่ง Cloud Thai สามารถตอบสนองการทำงานได้มากกว่า Cloud Global อย่างแน่นอน เนื่องจากมี เครือข่ายการทำงาน ที่รวดเร็วกว่า นั่นทำให้การทำงานมีความรวดเร็วและประสิทธิภาพสูงขึ้น

Cloud Thai นั้นมีสภาพแวดล้อมที่ยืดหยุ่นและเหมาะสม สามารถเพิ่ม-ลดขนาดของทรัพยากร Cloud Server ได้ทันที ตอบสนองกับการทำงานที่มีขนาดใหญ่ หรือการเพิ่มขึ้นของข้อมูลบนเว็บไซต์ รวมถึงมีผู้เชี่ยวชาญคอยดูแลระบบและให้การดูแลอย่างต่อเนื่องตลอดการใช้งานอีกด้วย

ทำไมต้องใช้งาน Cloud Thai บน NIPA.Cloud

Magento เป็นแพลตฟอร์มที่ต้องการสภาพแวดล้อมบนระบบที่มีความเสถียร ซึ่ง NIPA.Cloud สามารถสร้างประสิทธิภาพได้เหนือกว่า

1. เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน

NIPA.Cloud มีฟังก์ชันการทำงานให้ผู้ใช้งานสามารถสร้าง Magento ได้อย่างรวดเร็ว ด้วยฟังก์ชัน Marketplace cloud พร้อมกับสภาพแวดล้อมในการรองรับปริมาณข้อมูล รวมถึงคุณสมบัติที่รองรับการใช้งานที่มีประสิทธิภาพบน Cloud Server ที่ช่วยลดความซับซ้อนของระบบ IT และมีการอัปเดตทั้ง Hardware และ ซอฟต์แวร์ อยู่เสมอ ทำให้ระบบเครือข่ายและข้อมูลของDevทั้งหมดถูกจัดเก็บอย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ระบบของผู้ใช้ที่สร้างขึ้นบน Cloud Computing ไม่มีวันหมดอายุ จนกว่าจะไม่มีการใช้งาน ซึ่งมีความยั่งยืนที่มากกว่าระบบแบบ On-Prem

2. แพ็คเกจที่เหมาะสมสำหรับ SMEs จนถึงระดับ Enterprise

NIPA.Cloud มีอุปกรณ์และทรัพยากรที่ธุรกิจสามารถปรับขนาดได้อย่างยืนหยุ่น ที่สามารถSetทรัพยากรเองได้ โดยคิดค่าบริการแบบ ใช้เท่าที่จ่าย ทำให้เมื่อเปรียบเทียบกับการทำงานแบบ On-prem มีค่าใช้จ่ายที่ต่ำกว่า นอกจากนี้ยังรองรับการ Migrate-to-Cloud หรือการย้ายระบบมายัง Cloud Server อีกด้วย

ทำให้ผู้ใช้งานสามารถปรับเปลี่ยน Instance Cloud ได้ตามต้องการและมีการอัปเดตอย่างต่อเนื่อง ตอบสนองการทำงานที่รวดเร็ว มีคุณภาพ ประสิทธิภาพ และความเสถียรต่อการทำงานบน Cloud Server

3. การปรับใช้และกำหนดค่า Workflow ได้อย่างต่อเนื่อง

การทำงานบน Cloud Computing ที่มีสภาพแวดล้อมที่ตอบโจทย์ของธุรกิจทุกระดับ ตั้งแต่ Instance Cloud, Network และ Storage ที่สามารถปรับใช้ได้และมีการใช้งานที่ง่าย สะดวก ทำให้ผู้ใช้สามารถปรับเปลี่ยน คืนค่า และกำหนดค่าได้อย่างอิสระ สามารถควบคุมการพัฒนา Magento ได้อย่างต่อเนื่องไม่มีสะดุด

3.1 เพิ่ม-ลดทรัพยากรได้ทุกเมื่อ

3.2 สามารถเลือกใช้ทรัพยากรได้หลากหลายตามความต้องการ เช่น หน่วยการประมวลผล (Processing Unit), เครือข่ายข้อมูล (Network), ระบบเก็บข้อมูล (Storage) หรือระบบปฏิบัติการ (OS) เป็นต้น

3.3 เข้าถึงง่าย เชื่อมต่อได้ทุกที่ทุกเวลาเพียงแค่สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้

4. เพิ่มความปลอดภัยด้วย Cloud Firewall บน Magento

Magento บน Cloud มีระบบรักษาความปลอดภัย ด้วยความยืดหยุ่นและประสิทธิภาพของ Cloud ทำให้ระบบมีความปลอดภัย ด้วยมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล รวมถึงบริการการดูแลอื่นๆ เช่น มีNOCดูแลตลอด 24 ชั่วโมง รวมถึงมี Data Center ที่ได้รับการรับรองและมีมาตรฐาน ISO/IEC เป็นต้น

NIPA.Cloud มีระบบความปลอดภัยบน Cloud ที่เยอะ ตั้งแต่ Cloud Firewall ในการจัดการอนุญาตการใช้งาน port บน Instance Cloud รวมถึงรองรับการทำงานแบบ หลาย โครงการ เพื่อสะดวกต่องานที่เป็นลักษณะ project ย่อยๆ เพิ่มความสะดวกและความปลอดภัยให้กับผู้ใช้งาน รวมถึงมีฟังก์ชันความปลอดภัยอื่นๆ เช่น Keypair, External IP และ VPC Network เป็นต้น

Cloud Computing

ทำไมต้องใช้ Cloud Computing

ทำไมต้องใช้ Cloud Computing

Cloud Computing

Cloud Computing หรือระบบการประมวลผลและหน่วยจัดเก็บข้อมูลรูปแบบออนไลน์ที่ช่วยลดความยุ่งยากในการติดตั้ง ดูแลระบบ และลดต้นทุนในการสร้างระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดยมีบริการทั้งรูปแบบเครือข่ายส่วนตัว (Private Cloud), เครือข่ายสาธารณะ (Public Cloud) และใช้งานเครือข่ายแบบผสมผสาน (Hybrid Cloud)

 

เข้าใจง่ายๆ Cloud Computing คือการใช้งานระบบคอมพิวเตอร์ หรือซอฟต์แวร์แบบออนไลน์จากผู้ให้บริการที่แตกต่างกัน ซึ่งสามารถใช้งานได้อย่างสะดวกผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต รวมถึงสามารถกำหนดทรัพยากรของคอมพิวเตอร์ได้อย่างอิสระตามความต้องการ และเซฟต้นทุนด้วยระบบคิดค่าบริการตามการใช้งานจริงนั่นเอง

 

ประเภทของ Cloud Computing

 

  1. Public Cloud เป็นระบบคลาวด์ที่ผู้ใช้งานทั่วไปสามารถเข้ามาใช้งานทรัพยากรในการสร้างเครือข่าย หรือระบบคอมพิวเตอร์ โดยสามารถใช้งานได้ทั้ง Hardware และ ซอฟต์แวร์ ซึ่งรูปแบบบริการก็จะมีความแตกต่างกันออกไปของแต่ละผู้ให้บริการคลาวด์ ทั้งนี้จะมีการคิดค่าบริการแบบตามการใช้งานจริงเป็นรายชั่วโมง

 

  1. Private Cloud เป็นระบบคลาวด์แบบปิดที่มีเฉพาะคนในองค์กรสามารถเข้าถึงทรัพยากรได้ โดยที่ระบบข้อมูลและ Software จะการจัดเก็บและป้องกันที่ปลอดภัยบน Data Center ของผู้ให้บริการ ซึ่งองค์กรสามารถใช้งานหรือปรับเปลี่ยนระบบได้อย่างอิสระ

 

  1. Hybrid Cloud เป็นระบบคลาวด์แบบผสมผสานทั้ง Public Cloud และ Private Cloud ซึ่งดึงข้อดีของทั้งสองระบบออกมาใช้งาน เพื่อให้องค์กรสามารถทำงานบนระบบ Cloud Computing ได้อย่างสมบูรณ์แบบ เช่น ใช้งาน Private Cloud ในการรัน Software และเก็บข้อมูลภายในองค์กร แต่ใช้ Public Cloud ในการรัน เว็บไซต์ รวมถึงรองรับการทำงานช่วงที่มี Workload สูง

 

รูปแบบการใช้งาน Cloud Computing

 

  1. SaaS (Software-as-a-Service) เป็นการใช้งานคลาวด์ในรูปแบบของ Software โดยผู้ใช้งานสามารถสร้างและใช้ Software ตัวนั้นได้ผ่านอินเทอร์เน็ต ซึ่งไม่จำเป็นต้องติดตั้งบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ส่วนตัว

 

  1. IaaS (Infrastructure-as-a-Service) เป็นการใช้งานคลาวด์ในรูปแบบของระบบโครงสร้างพื้นฐาน เช่น หน่วยการประมวลผล (Processing Unit), เครือข่ายข้อมูล (Network), ระบบเก็บข้อมูล (Storage) หรือระบบปฏิบัติการ (OS) โดยผู้ใช้งานสามารถใช้งานทรัพยากรของคลาวด์ในการสร้างระบบคอมพิวเตอร์หรือเครือข่ายแบบเสมือน (Virtualization) ของตัวเองขึ้นมา ซึ่งไม่จำเป็นต้องซื้อหรือติดตั้ง Hardware จำนวนมากเป็นของตัวเอง

 

  1. PaaS (Platform-as-a-Service) เป็นการใช้งานคลาวด์ในรูปแบบของแพลตฟอร์ม โดยผู้ใช้งานสามารถใช้งาน Hardware และ Software ได้อย่างอิสระ ไม่ยุ่งยาก สามารถใช้งานได้ทันที

 

  1. DRaaS (Disaster Recovery-as-a-Service) เป็นการใช้งานคลาวด์ในรูปแบบของการกู้คืนข้อมูลเมื่อเกิดภัยพิบัติ โดยเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝัน เช่น ภัยธรรมชาติ, เหตุการณ์ทางการเมือง หรือ เหตุขัดข้องที่ทำให้ Data Center ไม่สามารถทำงานได้ ระบบก็จะมีการโอนย้ายการทำงานไปยังระบบการทำงานสำรองแบบอัตโนมัติ ทำให้ระบบเครือข่ายขององค์กรสามารถทำงานได้ต่อเนื่อง

 

เหตุผลที่องค์กรควรติดตั้ง DR หรือ Site สำรอง เนื่องจากมีการระบุไว้ตามกฎหมายว่าบริษัทที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ต้องมี Site สำรอง รวมถึงมีมาตรฐานเพื่อความปลอดภัยต่อข้อมูลขององค์กรและผู้ใช้งาน แต่การลงทุนทำ Site สำรองหรือ DRaaS นั้น มีค่าใช้จ่ายจำนวนมาก การใช้งานคลาวด์จึงสามารถตอบโจทย์การใช้งานที่มีราคาถูกกว่าได้ รวมถึงสามารถใช้งานบริการอื่นๆ จากคลาวด์ได้ เช่น Data Base-as-a-Service (DBaaS), Mobile Back-End-as-a-Service (MBaaS), Functions-as-a-Service (FaaS)

 

ความปลอดภัยของการใช้งาน Cloud Computing

 

อย่างที่กล่าวมาในข้างต้นแล้วว่าข้อดีของการใช้งาน Cloud Computing คือสามารถใช้งานได้อย่างสะดวก ค่าใช้จ่ายน้อย แต่อีกหนึ่งเรื่องที่ผู้คนมักตั้งคำถามเป็นเรื่องของ ความปลอดภัยของข้อมูล

 

แน่นอนว่าการเก็บข้อมูลไว้บน Cloud Computing นั้นมีความรวดเร็ว สะดวก ซึ่งก็มีการดูแลเรื่องความปลอดภัยของข้อมูลแก่ผู้ใช้งานอีกด้วย แม้กระทั่งในตัวของ Public Cloud ที่เป็นคลาวด์สาธารณะ แต่ก็มีระบบรักษาความปลอดภัย อย่างเช่น Keypair, VPC หรือระบบการตั้งค่า Network นอกจากนี้หากผู้ใช้งานเป็นระดับองค์กรก็สามารถใช้งาน Private Cloud ที่มีความปลอดภัยสูง เนื่องจากองค์กรสามารถจัดการทรัพยากรทั้งหมดได้ด้วยตัวเอง หากต้องการใช้งานที่คล่องตัวที่สุดก็คือ Hybrid Cloud ที่รวมเอาข้อดีของการใช้งานทั้ง Public Cloud และ Private Cloud เข้าด้วยกัน

 

ใช้งาน Cloud Computing คุ้มกว่าอย่างไร

 

1.Cost Savings

ควบคุมทรัพยากรเองได้ โดยคิดค่าบริการแบบ Pay-as-you-use จ่ายตามการใช้งาน เมื่อเปรียบเทียบกับการทำงานแบบ On-prem ต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงในการติดตั้ง Hardware และดูแลระบบ รวมถึงการจ้างเจ้าหน้าที่ในการดูแลอีกด้วย

 

2.Security

มีความปลอดภัยสูง เนื่องจากผู้ให้บริการในปัจจุบันมีการยกระดับมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล รวมถึงบริการการดูแลอื่นๆ เช่น มีเจ้าหน้าที่ดูแลตลอด 24 ชั่วโมง, มี Data Center ที่ได้รับการรับรองและมีมาตรฐาน ISO/IEC เป็นต้น

 

3.Flexibility

สามารถเลือกใช้ทรัพยากรได้หลากหลายตามความต้องการ เช่น หน่วยการประมวลผล (Processing Unit), เครือข่ายข้อมูล (Network), ระบบเก็บข้อมูล (Storage) หรือระบบปฏิบัติการ (OS) เป็นต้น 

 

4.Mobility

เข้าถึงง่าย เชื่อมต่อได้ตลอดเวลาเพียงแค่สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้

 

5.Reduce Complexity

ลดความซับซ้อนของระบบ IT การดูแลระบบ Infrastructure ขององค์กร เช่น ระบบไฟฟ้า, การเชื่อมต่ออุปกรณ์, การบำรุงรักษา เป็นต้น แต่ผู้ใช้งานสามารถใช้งานทรัพยากรทั้ง Hardware และ Software บนคลาวด์ได้ทันที

 

6.Automatic Software Updates

การทำงานบนคลาวด์จะมีการอัปเดตทั้ง Hardware และ Software ตลอดเวลา

 

7.Sustainability

ระบบเครือข่ายและข้อมูลของผู้ใช้งานทั้งหมดถูกจัดเก็บอย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ระบบของผู้ใช้ที่สร้างขึ้นบนคลาวด์ไม่มีวันหมดอายุ จนกว่าจะไม่มีการใช้งาน ซึ่งมีความยั่งยืนที่มากกว่าระบบแบบ On-Prem 

 

สำหรับบริการ Cloud Computing รูปแบบต่างๆ Nipa.Cloud เราสามารถให้บริการได้ทั้ง Public Cloud และ Private Cloud สำหรับองค์กรขนาดใหญ่ สามารถใช้งานได้ง่ายและได้รับประสิทธิภาพสูงสุด ด้วยซอฟต์แวร์ NCP ที่มีระบบ Billing แบบ Pay-As-You-Go พร้อม Data Center ของเราเองที่ได้รับมาตรฐาน ISO/IEC 27001:2013, ISO/IEC 29110 และรางวัลระดับสากล PM Export Award 2019, 2019 BEST INTELLECTUAL PROPERTY AWARD รวมถึงการได้รับสิทธิบัตรยกเว้นภาษีเป็นเวลาถึง 8 ปี จาก BOI

OpenStack ปะทะ VMware

ต้องบอกว่าตอนนี้การแข่งขันทางด้านเทคโนโลยี ถือว่ากำลังมาแรง ยิ่งถ้าพูดถึงเทคโนโยอย่าง Private Cloud ในตอนนี้ ทั้ง OpenStack และ VMware ต่างก็ถือว่าเป็นคู่แข่งกันในด้านการเป็นตัวเลือกยอดนิยมมาโดยตลอด แต่การเข้ามาของเทคโนโลยีใหม่ทั้ง IoT และ NFV อาจทำให้ OpenStack กลายมาเป็นฝ่ายได้เปรียบในสงครามครั้งนี้

แม้หลายๆ องค์กรใหญ่จะใช้งาน VMware มานาน แต่ฝ่ายบริษัทผู้ให้บริการทาง IT กลับจะดูชอบพอ OpenStack กันเสียมากกว่า ซึ่งผลสรุปของตลาดการแข่งขันที่จะกระเทือนทั้ง OpenStack และ VMware อาจขึ้นอยู่กับ IoT และ NFV ล้วนๆ

Virtual Resources ได้สร้างความยุ่งยากอีกระดับให้กับทีม Operation ของ Data center โดยทั่วไปแต่ละองค์กรจะ Install และ Integrate แต่ละ Application แบบ Manual หรือใช้งาน Simple operating system scripting languages เป็นหลัก แต่วิธีนี้ค่อนข้างเสี่ยงต่อการเกิด Configuration Error ในการ Deploy application ลง Resource pool ดังนั้นองค์กรสมัยนี้เลยหันมาใช้ DevOps Tools ให้ช่วย Deploy แต่ด้วยความที่ Tools เหล่านี้สามารถใช้งานได้ทั้งกับ OpenStack และ VMware จึงยังไม่ค่อยมีใครได้เปรียบเสียเปรียบนักในสงคราม Cloud นี้

NFV สะเทือนสนามรบ OpenStack และ VMware

เมื่อไม่นานมานี้ Network Operator หลายๆ เจ้าได้พัฒนา Specification ใหม่ที่ทำให้ Cloud hosting ที่สามารถรองรับ Network Feature ได้ โดยเรียกมันว่า NFV (Network Functions Virtualization) ซึ่ง NFV เป็นเหมือน Cloud application ที่ถูกแปลงมาเป็น Network Feature อย่างหนึ่ง โดยเกือบทั้งหมดของ NFV Implementations ต้องใช้ Cloud Deployment Tools มาเป็น Interface ของ Resources และด้วยความที่ OpenStack เองก็เป็น Open Source จึงสนับสนุนและทำงานร่วมกับ NFV ได้เป็นอย่างดี ผิดกับ VMware ที่ล่าช้าไปหน่อยกว่าจะพัฒนา Tools ที่เข้ากับ NFV ขึ้นมาได้

ในอีก 5 ปีข้างหน้า การ Hosting network feature อาจกลายมาเป็น Data Center Deployment แหล่งใหญ่ที่สุดได้ และถ้า OpenStack มีบทบาทใน NFV มากๆ เข้า จะทำให้ OpenStack ก้าวขึ้นเป็นผู้นำด้านการใช้งาน Cloud รูปแบบใหม่นี้ทันที ยิ่งเมื่อเหล่า Network Operator เริ่มใช้ NFV Data Center เพื่อให้บริการ Public Cloud ถึงตอนนั้น OpenStack-based private cloud ก็สามารถกลายมาเป็น Hybrid Cloud ได้ง่ายขึ้น เสริมความแข็งแกร่งของ OpenStack ในตลาด Cloud ไปอีกขั้น

NFV คือรูปแบบหนึ่งของ Cloud Computing ที่มีทั้งความน่าเชื่อถือและความรวดเร็ว ถูกออกแบบมาให้รองรับ Tenant Service ได้เป็นล้านๆ สามารถตั้งค่า Automate ในส่วนการ Deployment และ Management Process เพื่อคุมค่าใช้จ่ายได้ ซึ่งองค์กรทั้งหลายและผู้ให้บริการ Public Cloud ต่างก็สนใจในความสามารถพวกนี้ เพราะฉะนั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลกเลยถ้า Tools และ Features ของ NFV จะถูกใช้กันโดยทั่วไปตามองค์กรต่างๆ และยิ่งถ้า Tools เหล่านี้ถูกออกแบบมาให้เข้ากับ OpenStack ได้ดีกว่า VMware แล้วล่ะก็ ไม่ต้องสงสัยเลยว่าใครจะเป็นผู้นำแต้มต่อในวงการนี้ในอนาคต

ผลกระทบครั้งใหญ่ของ IoT ต่อ OpenStack  และ VMware

IoT หรือ Internet of Things เป็นอีกเทรนด์ที่ส่งจะผลกระทบต่อกลุ่ม Network Operator เป็นอันดับแรก ด้วยการสร้าง Platform และ Tools ใหม่ๆ ขึ้นมา โดย IoT มีองค์ประกอบอยู่ 2 ส่วน องค์ประกอบแรกคือส่วนที่เชื่อมต่อระหว่าง Sensor กับ Controller และส่วนที่คอยแปลงข้อมูลของ Sensor กับ Controller ให้เป็น Format สำหรับการเข้าถึง Application อย่างปลอดภัย อีกองค์ประกอบหนึ่งของ IoT นั้นจะคล้ายๆ กับโกดังเก็บ Big Data และพวก Application คุมระบบต่างๆ เช่น process control, vehicle/traffic control และ mobile contextual services based on location จะว่าไปก็เหมือนกับเป็น Cloud Applications หรือ NFV Functions รูปแบบหนึ่ง

ซึ่งทุกวันนี้เทคโนโลยี Cloud Computing ที่องค์กรส่วนใหญ่เลือกใช้มักจะเป็นพวกบริการ Public Cloud เพื่อเข้ามาเป็นส่วนขยายของ Data Center Virtualization และ Hosting โดย Application ที่สร้างไว้ใน Cloud ก็จะมีความคล้ายคลึงกับ Web และ Front-end technology ที่นำมาประยุกต์กับ Data Center Application แบบเก่า แต่ IoT นั้นต่างออกไป มันจะกลายเป็นทางเลือกใหม่ที่แจกจ่ายการทำงานของ Data และ Processing ได้พร้อมๆ กัน ทั้งยังสามารถ Redefining Workflow เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานได้อีกด้วย ดังนั้นแนวโน้มที่ IoT จะเข้าไปมีบทบาทร่วมใน Data Center และ Public Cloud ของแต่ละองค์กรจึงเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ

จากการที่ Network operator หลายแห่งเลือกใช้งาน Open source ซึ่งแน่นอนว่ามักจะหมายถึง OpenStack สำหรับ NFV ย่อมส่งผลให้ OpenStack กลายมาเป็นที่นิยมสำหรับ IoT Platform ด้วยเช่นกัน เนื่องจาก IoT Application มีลักษณะคล้ายคลึงกับ Network Function อย่างไรก็ดี ความนิยมของ OpenStack จะนำขึ้นมาเหนือ VMware ได้หรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับว่า NFV จะถูกพัฒนาและนำมาปรับใช้ได้เร็วแค่ไหนนั่นเอง

 

ไขข้อข้องใจ Private Cloud หรือ Public Cloud ต่างกันอย่างไร? ควรเลือกแบบไหนดี?

บางคนอาจยังมีข้อข้องใจเกี่ยวกับระบบ Cloud ในส่วนของ Private Cloud และ Public Cloud ว่ามันทำงานแตกต่างกันอย่างไง เรามาไขข้อข้องใจเรื่องการทำงานที่แตกต่างกันระหว่าง Private Cloud และ Public Cloud กัน เพื่อเป็นประโยชน์กับผู้ที่กำลังลังเลวาจะใช้บริการแบบไหนดี

 

Private Cloud

Private Cloud ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในชื่อ internal หรือ Enterprise Cloud จะอยู่ในระบบ Intranet หรือ Data Center ภายในของบริษัท ซึ่งมีการรักษาความปลอดภัยด้วยระบบ Firewall

โดย Private Cloud ถือว่าเป็นตัวเลือกที่ดีตัวหนึ่งสำหรับองค์กรที่มี Data Center คุณภาพสูงอยู่แล้ว เนื่องจากสามารถใช้ Infrastructure ของตนได้เลย แต่ข้อเสียก็คือว่าผู้ใช้บริการจะต้องซ่อมบำรุง รวมไปถึง
อัปเดต Data Center  ทั้งหมดด้วยตัวเอง และยิ่งนานวันเข้า Server ต่างๆ ย่อมมีการเสื่อมสภาพไป หากต้องการการปรับเปลี่ยนหรือซื้อของมาแทนที่ ก็จะทำให้มีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง แต่สิ่งที่จะได้กลับมาจากการใช้ Private Cloud ก็คือจะมีระบบการรักษาความปลอดภัยขั้นสูง ทั้งยังมีความเป้นส่วนตัวสูงมาก เหมาะกับองค์กรที่มีข้อมุลอันเป็นความลับเป็นจำนวนมาก ทำให้มั่นใจในการใช้บริการได้

 

Public Cloud

ความแตกต่างที่เห็นได้ชัดอย่างหนึ่งของ Private Cloud และ Public Cloud ก็คือทางองค์กรไม่ต้องรับผิดชอบต่อภาระการจัดการใดๆ ในระบบเลย หากใช้ Public Cloud เพราะข้อมูลจะถูกเก็บไว้ใน Data Center ของผู้ให้บริการ รวมไปถึงเรื่องของการอัพเดตระบบต่างๆ ก็เป็นหน้าที่ของผู้ให้บริการเช่นกัน นี่จึงเป็นเหตุผลที่ Public Cloud ตอบโจทย์กับหลายๆรกิจ เพราะจะทำให้สามารถไปให้ความสนใจกับงานหลักของตนได้เต็มที่ ทั้งยังใช้ทุนที่ไม่สูง และยังช่วยลดความล่าช้าในการ Test และ Deploy Products ได้อีกด้วย

อย่างไรก็ดีเนื่องจากบริการ Public Cloud เป็นบริการที่แหล่งทรัพยากรอาจจะมาจากแหล่งเดียวกัน จึงทำให้องค์กรใหญ่ๆ บางแห่งหันไปใช้บริการ Private Cloud ที่มีความปลอดภัยสูงกว่า แต่ในขณะเดียวกัน กลุ่มธุรกิจขนาดเล็กไปจนถึงขนาดกลางจะให้ความสนใจกับ Public Cloud มากกว่า แต่ถ้าคุณเป็นคนเลือก คุณจะเลือกแบบไหนกันล่ะ?

Container : รากฐานของระบบ Cloud

สำหรับใครที่เป็นสาย IT หรือ CXO (Cheif Experience Officer) คงเคยได้ยินเรื่องเกี่ยวกับ Docker และ Containerization กันมาบ้างแหละ แต่ถ้าถามว่า Docker และ Container คืออะไร แล้วจะมามีบทบาทเพิ่มศักยภาพให้ Virtual และ Cloud Infrastructure ของได้อย่างไร

ช่วงราวๆ ปี 1970 IBM ได้คิดค้น VM/370 Operating System ขึ้นมา ทำให้สามารถแยกส่วนการทำงานทางกายภาพและ Software ของ Mainframe Computer ได้ คือ ทำให้พวก Instance ของ OS หรือ VM รันได้ใน Environment ส่วนตัว สำหรับ Application และ User แต่ละรายออกจากกัน นอกจาก VM จะช่วยเสริมประสิทธิภาพการทำงานของ Mainframe แล้วยังทำให้การบริหารจัดการง่ายขึ้นอีกด้วย

และในที่สุด เทคโนโลยี Virtualization ก็แพร่หลายมาสู่ Intel และ PC ซึ่งเดิมถูกใช้งานสำหรับ Compatibility เช่น ระบบ DOS/Windows subsystem implemented in OS/2 2.0 เมื่อปี 1992

ต่อมาในปี 1999 VMware ได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์ชิ้นแรก คือ VMware 1.0 สำหรับ Linux เพื่อให้ Windows และ Windows Application สามารถรัน Desktop Version ของ OS ได้ เนื่องจากในช่วงเวลานั้น Windows ยังขาด native apps อยู่หลายตัว ทำให้ VMware กลายมาเป็น Tools ยอดนิยมสำหรับ Software Developer ที่ต้องการ Code จาก Running Environment เผื่อในกรณีที่ Development VM เกิดผิดพลาดขึ้นมา OS จะได้ไม่ล่มไปทั้งระบบ

เมื่อเข้าสู่ยุค 2000 Client-server ก็เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วจน Data Center เต็มไปด้วย Server

และด้วยผลิตภัณฑ์จาก VMware ทั้ง ESX hypervisor, Xen, Hyper-V และ KVM ทำให้ x86 System ทั้งหลายกลายมาเป็น Virtual Machine กันเสียเยอะแยะ เม็ดเงินที่ต้องจ่ายเพื่อทำ Server และเป็นเจ้าของ Data Center จึงลดลงจนน่าตกใจ ผลลัพธ์ คือ จาก Physical Server หลายพันเครื่อง ตอนนี้เหลือเครื่อง Host สำหรับบรรจุ Virtual Machine เพียงไม่กี่เครื่องเท่านั้น

ซึ่ง Hypervisor และ Virtual Infrastructure นี้เองที่ผลักดันให้ Data Center และบริการ Publice Cloud แบบ IaaS (Infrastructure as a Service) เติบโตมาได้จนถึงทุกวันนี้

ในปัจจุบัน Public Cloud เช่น AWS (Amazon Web Service) และ Microsoft Azure จะเรียกเก็บเงินเป็นรายชั่วโมงที่ VM เปิดใช้งาน โดยคิดในส่วนของการใช้งาน Virtual cpus (vCPUs) ซึ่งเป็น Virtualization ส่วนหนึ่งของ Host CPU core

VM คือ แหล่ง Instance ทั้งหมดของ OS โดยต้องมี Kernel และ Device Driver ซึ่งเข้ากันได้กับ VM เครื่องอื่นๆ ที่ใช้ Hypervisor ร่วมกัน VM มีข้อดีด้านความสามารถในการย้าย System และ App ภายในจาก Physical ไปยัง Virtual ได้โดยไม่กระทบต่อโครงสร้างพื้นฐานของ Environment ที่มีอยู่ แต่ VM ก็กิน Resource เปลืองมาก โดยเฉพาะในส่วนของ Memory และ CPU intensive workloads อย่าง Database

ทั้งนี้ การใช้งาน VM ในระดับ Private และ Public Cloud หมายความว่า Workload จาก VM แบบ on-premise หลายเครื่อง จะถูกย้ายขึ้นไปบน Cloud กันหมด ซึ่งอาจเกิดปัญหา Scalability และเพื่อเป็นการแก้ปัญหาดังกล่าว Container จึงเข้ามามีบทบาท

Container คล้ายกับ VM ในด้านการสร้างพื้นที่เฉพาะสำหรับ Application โดยมีทรัพยากรแยกออกจากกัน ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่สำหรับติดตั้ง, Memory และพื้นที่เก็บไฟล์ เพราะเหตุนี้ Container จึงสามารถมี Sysadmin และกลุ่มของ User ส่วนตัวเฉพาะแต่ละ Container ได้ แต่ที่ไม่เหมือนกับ VM ก็คือ Container ไม่ได้รัน Instance หรือ Image ของ OS อย่างสมบูรณ์ ด้วย Kernels, Drivers, และ Libraries ที่แชร์ร่วมกัน และไม่ว่า Container จะมีจำนวนมากแค่ไหน ก็สามารถรันได้บน Single OS เดียวกัน และมีขนาดเล็กนิดเดียว เมื่อเทียบกับ VM

ภายในหนึ่ง Container จะมีเพียง Application และ Setting กับ Storage ที่จำเป็นสำหรับการทำงานของ Application เท่านั้น ซึ่งบางครั้ง Concept นี้จะถูกเรียกว่า JeOS “Just enough OS”

ด้วยความที่ Container สามารถโอนถ่าย Libraries และ Patches จาก Host เมื่อ Host ของ Container อัพเดท Libraries พวก Container ทั้งหมดที่อยู่ใน Host ก็จะอัพเดท Libraries ไปด้วย จึงเรียกได้ว่า Container หรือ Virtual Environment ที่อยู่บน Host เดียวกันใช้งาน OS เวอร์ชั่นเดียวกันทั้งหมด

ทางด้านการทำงาน Container นั้นต้องการ Host OS หรือ Containerization Platform อย่าง LXC กับ Docker แตกต่างจาก VM ที่รันบน Hypervisor เพราะฉะนั้น Containerization จึงถูกพูดถึงในฐานะ Virtualization ในระดับ OS (Operating System-level Virtualization) โดย Linux containerization host จะรัน Linux containers ส่วน Windows containerization host ก็รัน Windows containers และเพราะ Container หลายตัวสามารถรันได้ด้วย Single Instance ของ OS การจะให้ Container Host กลายมาเป็น Single VM จึงสามารถทำได้เช่นกัน

ตอนนี้เราก็มาถึง Containerization Technology ที่กำลังเป็นที่สนใจกันแล้ว นั่นก็คือ Docker โดย Containerization Engine จริงๆ ของ Docker ใน Linux OS คือ LXC

Docker เป็น Containerization Technology ที่โดดเด่นด้วยการทำให้เราสามารถรวม Application ซับซ้อนทั้งหลายเป็นแพ็คเกจเอาไว้ แล้วอัพโหลดขึ้นที่เก็บไฟล์สาธารณะ จากนั้นก็ดาวน์โหลดมาติดตั้งใน Public หรือ Private Cloud ที่มี OS ซึ่งรัน Docker Engine และ Containerization Platform อยู่ ซึ่งเป็นวิธีการเดียวกันกับที่เราโหลดแอพฯ จาก App Store มาลงสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตนั่นแหละ

การย้าย Docker ไป Host อื่นก็สามารถทำได้ไม่ต่างกับการย้าย VM  แถมยังเร็วกว่าด้วยซ้ำ ส่วนเรื่องการ Clustering ข้อมูล Docker จะใช้ Swarm เป็นตัวจัดการไฟล์

สรุปแล้ว การมาถึงของ Container Technology ทำให้การพึ่งพา VM ลดน้อยลง เพราะ Container ได้นำเสนอทางเลือกประหยัดค่าใช้จ่ายด้าน Cloud Computing โดยเฉพาะในระดับ Hyperscale ได้อย่างน่าดึงดูดใจ ให้เหล่า CXO ต้องกลับไปคิดทบทวนเรื่องปรับโครงสร้างระบบและเปลี่ยนมาใช้งาน Docker กันสักที

Public Cloud

ในปัจจุบันการใช้เทคโนโลยีหรือการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตไปยัง ผู้ใช้ (USERS) ได้มีความสะดวก สบายขึ้น ซึ่งการติดตั้งข้อมูลบนโลกอินเตอร์เน็ตออนไลน์ หรือ เพื่อนๆเรียกกันว่า “คลาวด์สาธารณะ (Public Cloud)” ทำให้ผู้ใช้สามารถแบ่งปันข้อมูลหรือแชร์กันบนโลกออนไลน์ได้ง่ายดายเลยทีเดียวค่ะ การจัดเก็บข้อมูลต่างๆ โดยปกติจะมีความซ้ำซ้อนยุ่งยาก Public Cloud สามารถตอบโจทย์มากในยุคอินเทอร์เน็ตและยุค 3G ไม่ว่าผู้ใช้จะไม่ได้อยู่ที่ทำงาน ก็สามารถทำงานได้ ด้วยการเชื่อมต่อที่เป็น Public Cloud สร้างเพื่อให้ทุกคนสามารถใช้งานร่วมกันได้ Public Cloud มีทั้งแบบที่เสียค่าใช้จ่ายและที่ใช้งานได้ฟรี ดังนั้นการใช้ถึงมีสิทธิในการควบคุมทรัพยากรและการอนุญาตจากผู้ให้บริการ

ข้อดีของ Public Cloud
ผู้ใช้สามารถเข้าใช้งานได้ทุกที่ (Accessbillity)
ตามเทคโนโลยีทัน (Newer Technology)
ความสามารถเชื่อถือของระบบสูง ดีกว่าที่เราทำเอง (Relliabillity)
มีเวลาไปดูธุรกิจหลักของตัวเอง (Core Business Focus)
ไม่มีความกังวลกับระบบ IT (Worry Free IT Maintenance)
สามารถแชร์ทรัพยากรและค่าใช้จ่าย (Shared Cost & Resources)
จ่ายค่าใช่จ่ายเท่าที่ใช้บริการ (Pay Pre Use)
Resource มีขนาดใหญ่ สามารถขยายได้ตามความต้องการของผู้ใช้ (On Demand Scalability)

ข้อเสียของ Public Cloud
ความปลอดภัยของข้อมูลในองก์กร Public Cloud ทีเดียวกันร่วมกันคนอื่น
หลายๆองก์กรยังคงไม่เข้าใจ ระบบ Cloud และยังไม่กล้าที่จะใช้บริการ
การควบคุมส่วนใหญ่อยู่ที่ผู้ให้บริการ ทำให้ขาดความยืดหยุ่นในการบริหารจัดการ
การใช้งานในระยะยาวอาจจะไม่คุ้มค่า หากขาดการวางแผนที่ดี